วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส
เรื่อง เทวดากับหนอน
นิทานเกิดขึ้น ที่ข้างส้วมแผนโบราณ แห่งหนึ่ง ในหลุมนั้น มีหนอนเจริญเติบโต อยู่ทุกขนาด ดำผุดดำว่าย อยู่อย่างยัวเยี้ย นับด้วยหมื่นด้วยแสน ท่านสมภาร ได้ชี้ให้เด็กๆ ดูในแง่ธรรมะที่ว่า หนอนเหล่านี้ กำลังมึนเมา อยู่ในของเน่าเหม็น และหลับหูหลับตา จมอยู่ในของสกปรก อย่างน่าสมเพช ซึ่งถ้านำไปเปรียบ กับเหล่าเทพยดา ในฉกามาวจรวรรค์แล้ว ก็จะชวนให้ สมเพช ยิ่งขึ้นไปอีก จนสุดที่จะ ทนไหวทีเดียว ใครๆ อย่าหลงพอใจในของสกปรก เหมือนหนอน เหล่านั้นเลย
นิทานเกิดขึ้น ที่ข้างส้วมแผนโบราณ แห่งหนึ่ง ในหลุมนั้น มีหนอนเจริญเติบโต อยู่ทุกขนาด ดำผุดดำว่าย อยู่อย่างยัวเยี้ย นับด้วยหมื่นด้วยแสน ท่านสมภาร ได้ชี้ให้เด็กๆ ดูในแง่ธรรมะที่ว่า หนอนเหล่านี้ กำลังมึนเมา อยู่ในของเน่าเหม็น และหลับหูหลับตา จมอยู่ในของสกปรก อย่างน่าสมเพช ซึ่งถ้านำไปเปรียบ กับเหล่าเทพยดา ในฉกามาวจรวรรค์แล้ว ก็จะชวนให้ สมเพช ยิ่งขึ้นไปอีก จนสุดที่จะ ทนไหวทีเดียว ใครๆ อย่าหลงพอใจในของสกปรก เหมือนหนอน เหล่านั้นเลย
หนอนหลายตัว ได้ยินคำพูดเหล่านั้น! หนอนบางตัว ได้คิดว่า แท้จริง ความพอใจในรสนิยม ของพวกเรา กับของเทพยดาทั้งหลาย ก็มีได้เท่ากัน และในลักษณะ ทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ มันแล้วแต่ ลักษณะของอายตนะ เครื่องรับ และเสวยอารมณ์ นั้น ต่างหาก เราไม่เชื่อท่านสมภาร! หนอนบางตัว ได้พยายามลืมตาขึ้นดู ก็เห็นว่า มันออกจะสกปรก มากมายจริง แต่ทนลืมตาอยู่ไม่ไหว ต้องกลับหลับไปตามเดิม โดยเร็ว เพราะมันได้เห็น สิ่งอื่น ที่สกปรกกว่า อาหารบ้านเรือนของมันเอง จนทนลืมตาอยู่ไม่ไหว!
มันบอกพวกพ้องของมันว่า ชั่วที่ลืมตาขึ้นแวบเดียว ก็ได้เห็น เทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย มีจิตจมอยู่ใน ความมืดมน ถือตัว ถือตน นานาประการ การกระทำทางกายวาจา ก็จมอยู่ในกรรมโสมม เลวทราม เนื้อตัวทั้งสิ้น จมอยู่ในกามารมณ์ กำลังทำสิ่งต่างๆ ด้วยความหลงใหล ในลาภยศ อำนาจวาสนา พวกพ้องบริวาร อันเป็นทางให้ได้มาซึ่งความมัวเมา ในความสุข ทางเนื้อหนัง ของตน อย่างไม่รู้จักอิ่มจักพอ อีกต่อหนึ่ง ถึงกับต้องอิจฉา ริษยารบราฆ่าฟันกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างป่าเถื่อน ทารุณ ชนิดที่ไม่เคยมี ในสมัยที่ยังไม่เกิด ส้วมชักโครก แผนปัจจุบันนั้นเลย ศีลธรรมของเขา คือ การกอบโกย ความสุข ทางเนื้อหนัง ใส่ตนอย่างเดียว แล้วเรียกชื่อกันเอาเอง อย่างไพเราะ ว่า มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ ของฉัน
พูดกันดังนั้นแล้ว มันก็ชักชวน กันให้หลับตา ให้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่ออย่าให้เสียเปรียบ หรือ ล้าหลัง พวกเทพยดา มนุษย์ทั้งปวง หรือ อย่างน้อยที่สุด ก็ให้พอเคียงคู่กันไป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: ผู้ที่พอใจในกามารมณ์ ชื่อเสียงยศศักดิ์ อำนาจวาสนา พวกพ้องบริวาร ทั้งหลายนั้น ขออย่าได้หาญ พยายามลืมตา เป็นอันขาด จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบหนอน หรือ ลืมขึ้นมา ก็จะต้องรีบกลับ หลับตา ลงไปใหม่ เหมือนหนอน เหล่านั้นอยู่เอง ซึ่งทำให้เกิด เป็นปัญหา ขึ้นว่า ใครเล่าจะเป็น ฝ่ายชนะ? หรือว่าใครเล่า น่าสมเพช กว่าใคร ในระหว่างพวก เทพยดา ใน ฉกามาวจรสวรรค์ และ หนอนใน ส้วมแผนโบราณ เหล่านั้น?
คัดจากหนังสือ นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา
ที่มา:http://www.buddhadasa.com/zen/tale05.html
นิทานเซ็น
เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ
อาจารย์ แห่งนิกายเซ็น ชื่อ น่ำอิน เป็น ผู้มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ และ โปรเฟสเซอร์ คนหนึ่ง เป็น โปรเฟสเซอร์ ที่มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ ไปหา อาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษา พระพุทธศาสนา อย่างเซ็น ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์ น่ำอิน ได้รินน้ำชา ลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก โปรเฟสเซอร์ มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ ก็พูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มัน ลงไปได้อย่างไร" ประโยคนี้ มันก็แสดงว่า โมโห ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า" ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไร ลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย opinions และ speculations ของท่านเอง" คือว่า เต็มไปด้วยความคิด ความเห็น ตามความ ยึดมั่นถือมั่น ของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบ ของท่านเอง สองอย่างนี้แหละ มันทำให้เข้าใจ พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่ได้ เรียกว่า ถ้วยชามันล้น
ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย จะเตือนสติเด็กของเราให้รู้สึกนึกคิด เรื่องอะไรล้น อะไรไม่ล้น ได้อย่างไร ขอให้ช่วยกันหาหนทาง ในครั้งโบราณ ในอรรถกถา ได้เคย กระแหนะกระแหน ถึง พวกพราหมณ์ ที่เป็น ทิศาปาโมกข์ ต้องเอาเหล็กมาตี เป็นเข็มขัด คาดท้องไว้ เนื่องด้วย กลัวท้องจะแตก เพราะวิชาล้น นี้จะเป็นเรื่อง ที่มีความหมายอย่างไร ก็ลองคิดดู พวกเรา อาจล้น หรือ อัดอยู่ด้วยวิชาทำนองนั้น จนอะไรใส่ ลงไปอีกไม่ได้ หรือ ความล้นนั้น มันออกมา อาละวาด เอาบุคคลอื่น อยู่บ่อยๆ บ้างกระมัง แต่เราคิดดูก็จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ล้น นั้น คงจะเป็นส่วน ที่ใช้ไม่ได้ จะจริงหรือไม่ ก็ลองคิด ส่วนใดที่เป็นส่วนที่ล้น ก็คงเป็น ส่วนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนที่ร่างกาย รับเอาไว้ได้ ก็คงเป็น ส่วนที่มีประโยชน์ ฉะนั้น จริยธรรมแท้ๆ ไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่า จริยธรรม หรือ ธรรมะแท้ๆ นั้น มีอาการล้นได้ไหม ถ้าล้นไม่ได้ ก็หมายความว่า สิ่งที่ล้นนั้น มันก็ไม่ใช่จริยธรรม ไม่ใช่ธรรมะ ล้นออกไป เสียให้หมด ก็ดีเหมือนกัน หรือ ถ้าจะพูดอย่างลึก เป็นธรรมะลึก ก็ว่า จิตแท้ๆ ไม่มีวันล้น อ้ายที่ล้นนั้น มันเป็นของปรุงแต่งจิต ไม่ใช่ตัวจิตแท้ มันล้นได้มากมาย แต่ถึงกระนั้น เราก็ยังไม่รู้ว่า จิตแท้คืออะไร อะไรควรเป็น จิตแท้ และอะไรเป็นสิ่ง ที่ไม่ใช่จิตแท้ คือ เป็นเพียง ความคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะล้นไหลไปเรื่อย นี่แหละ รีบค้นหาให้พบ สิ่งที่เรียกว่า จิตจริงๆ กันเสียสักที ก็ดูเหมือนจะดี
ในที่สุด ท่านจะพบตัวธรรมะอย่างสูง ที่ควรแก่นามที่จะเรียกว่า จิตแท้ หรือ จิตเดิมแท้ ซึ่งข้อนั้น ได้แก่ ภาวะแห่งความว่าง จิตที่ประกอบด้วย สภาวะแห่งความว่างจาก "ตัวกู-ของกู" นั้นแหละ คือ จิตแท้ ถ้าว่างแล้ว มันจะเอาอะไรล้น นี่เพราะเนื่องจากไม่รู้จักว่า อะไรเป็นอะไร จึงบ่นกันแต่เรื่องล้น การศึกษาก็ถูกบ่นว่า ล้น และที่ร้ายกาจที่สุด ก็คือ ที่พูดว่า ศาสนานี้ เป็นส่วนที่ล้น จริยธรรมเป็นส่วนล้น คือส่วนที่เกิน คือ เกินต้องการ ไม่ต้องเอามาใส่ใจ ไม่ต้องเอามาสนใจ เขาคิดว่า เขาไม่ต้อง เกี่ยวกับศาสนา หรือธรรมะเลย เขาก็เกิดมาได้ พ่อแม่ก็มีเงินให้ เขาใช้ให้เขาเล่าเรียน เรียนเสร็จแล้ว ก็ทำราชการ เป็นใหญ่เป็นโต ได้โดยไม่ต้อง มีความเกี่ยวข้อง กับศาสนาเลย ฉะนั้น เขาเขี่ยศาสนา หรือ ธรรมะ ออกไปในฐานะ เป็นส่วนล้น คือ ไม่จำเป็น นี่แหละ เขาจัดส่วนล้น ให้แก่ศาสนาอย่างนี้ คนชนิดนี้ จะต้องอยู่ ในลักษณะที่ ล้นเหมือน โปรเฟสเซอร์คนนั้น ที่อาจารย์น่ำอิน จะต้อง รินน้ำชาใส่หน้า หรือ ว่ารินน้ำชาให้ดู โดยทำนองนี้ทั้งนั้น เขามีความเข้าใจผิดล้น ความเข้าใจถูกนั้นยังไม่เต็ม มันล้นออกมา ให้เห็น เป็นรูปของ มิจฉาทิฎฐิ เพราะเขาเห็นว่า เขามีอะไรๆ ของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ส่วนที่เป็นธรรมะ เป็นจริยธรรมนี่ เข้าไม่จุ อีกต่อไป ขอจงคิดดูให้ดีเถอะว่า นี้แหละ คือ มูลเหตุที่ทำให้จริยธรรม รวนเร และ พังทลาย ถ้าเรามีหน้าที่ ที่จะต้องผดุงส่วนนี้แล้ว จะต้องสนใจเรื่องนี้
นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา
ที่มา:http://www.buddhadasa.com/zen/zen01.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)